บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน/สำนัก

งานเลขานุการ (Secretary)

“สนับสนุนงานบริหาร เชื่อมประสานหน่วยงาน บริการด้วยน้ำใจ”

 

ดำเนินการจัดการประชุม เตรียมเอกสารการประชุม บันทึกการประชุม จัดทำรายงานการประชุม สรุปสาระสำคัญของการประชุมของผู้บริหารและติดตามผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุม

ดำเนินการติดต่อประสานงานนัดหมายต่างๆ และพิมพ์หนังสือโต้ตอบทั้งภายในและภายนอก

พิจารณากลั่นกรองหนังสือ เรื่องต่างๆ อย่างถูกต้อง รวดเร็วและสอดคล้องตามกฎระเบียบของสถาบัน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอผู้บริหาร พร้อมตรวจทานหนังสือจากผู้บริหารพิจารณาสั่งการ และลงนามให้ครบถ้วน ก่อนจัดส่งคืนหน่วยงานต่างๆ โดยจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือและเอกสารต่างๆ เพื่อดำเนินการเสนอก่อนและหลัง

เผยแพร่แนวคิด นโยบาย และผลงานของผู้บริหารให้หน่วยงานต่างๆ ทราบ รวมทั้งให้ข้อมูลเบื้องต้นแก่ผู้บริหารเพื่อประกอบการตัดสินใจ

 

งานบริหารงานสภาสถาบัน (Organization Council Management)

“สนับสนุนกิจการสภา เพื่อการพัฒนาสถาบัน”

 

  • จัดเตรียมเอกสารวาระประชุมกรรมการอำนวยการและสภาสถาบัน
  • ดำเนินการประชุมกรรมการอำนวยการและสภาสถาบัน
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประชุมกรรมการ อำนวยการและสภาสถาบัน
  • ประมวลสืบค้นระเบียบกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
  • บันทึกการประชุมและติดตามมติการประชุมกรรมการอำนวยการ และสภาสถาบัน
  • เป็นศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลการประชุมอำนวยการและสภาสถาบัน

 

งานอำนวยการและระบบสารสนเทศองค์กร (Administration and Organization Information Tecnology)

“ศูนย์กลางข้อมูล นำสู่การปฏิบัติ พัฒนาองค์กร”

 

  • ระบบงานสารบรรณองค์กร
  • พัฒนาระบบ E-Document
  • จัดเก็บและสืบค้นเอกสารสำคัญของสถาบัน
  • พัฒนาระบบสารสนเทศงานสารบรรณขององค์กร
  • รับผิดชอบงานพัสดุประจำสำนัก
  • บริหารงบประมาณประจำสำนัก
  • ดูแลควบคุมทรัพย์สินภายในสำนัก
  • อำนวยการและธุรการของสำนัก
  • ช่วยดำเนินการประชุมกรรมการสภาสถาบันและจัดการประชุมอื่นๆ

 

งานบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (Safety Health & Environment)

“ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี เกื้อหนุนการทำงานให้มีสุข”

 

  • จัดเตรียม ยกร่าง ระเบียบวิธีการปฏิบัติ มาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิงแวดล้อม โดยอ้างอิงตามกฎหมาย, มาตรฐานด้านความปลอดภัย และนโยบายของเครือฯ
  • ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิงแวดล้อม และรายงานผลการตรวจพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ใหม่ ตลอดจนติดตามการแก้ไขปรับปรุง
  • จัดประชุมและร่วมประชุมกับคณะกรรมการและคณะทำงานความปลอดภัยฯ
  • ตรวจติดตามรายงานการเกิดอุบัติเหตุ ไต่สวน วิเคราะห์ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขป้องกันให้คำแนะนำปรึกษาด้านความปลอดภัยต่อผู้บริหารและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง
  • ประเมินให้คำแนะนำในการซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุ รวมทั้งติดตามการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  • จัดทำโครงการตรวจประเมินระบบความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิงแวดล้อม ให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายและนโยบายที่กำหนด
  • ค้นหาเทคนิคความรู้ใหม่ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิงแวดล้อม เพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้กับคณะทำงาน, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและพนักงานทุกระดับ
  • พัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยโครงการ 7ส